ใช้งาน Bulma ใน Rails
ถ้าจะกล่าวถึง CSS Framework ที่เป็นที่นิยมใช้กันนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลากหลาย สำหรับในบทความนี้จะกล่าวถึง Bulma ซึ่งเป็น CSS Framework ที่ใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อนและแลดูสวยงามเมื่อแสดงผลอยู่บนเว็บบราวเซอร์ โดยในวันนี้เราจะนำ Bulma มาใช้งานร่วมกันกับ Rails
ความต้องการพื้นฐาน
- Ruby 2.6
- Rails 6.0
เริ่มต้นอย่างรวดเร็ว
ก่อนอื่นเรามาสร้างโปรเจค Rails กันก่อน
$ rails new myapp
สำหรับการติดตั้ง Bulma ให้กับโปรเจคสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
- ติดตั้งแบบ manual โดยวิธีนี้จะต้องใช้ NodeJS ร่วมด้วย
- ติดตั้งโดยใช้ Gem
ในบทความนี้จะเลือกใช้วิธีที่ 2 นั้นคือติดตั้งโดยใช้ Gem ซึ่งทำได้ง่ายกว่า และพร้อมใช้กับ Rails ในทันที ด้วยวิธีการเพิ่มคำสั่งติดตั้งเข้าไปในไฟล์ Gemfile ที่อยู่ภายในโปรเจค สำหรับ Gem ที่ใช้งานมีชื่อว่า bulma-rails
gem "bulma-rails", "~> 0.8.0"
รันคำสั่งเพื่อติดตั้ง
$ bundle install
จากนั้นนำเข้าสไตล์ของ Bulma เข้าไปยัง application.scss
ตำแหน่งที่ตั้งของไฟล์ application.scss
!!! หมายเหตุ: ในกรณีที่ extension ของ application เป็น css อยู่ให้ทำการเปลี่ยน extension ให้เป็น scss ด้วยการ rename
@import "bulma";
มาถึงตรงนี้โปรเจคของเราก็พร้อมที่จะใช้ Bulma ดังนั้นเรามาลองสร้างหน้าเว็บที่ใช้งาน Bulma กันหน่อย โดยเริ่มสร้าง controller ชื่อ Home และ action ชื่อ index
$ rails generate controller Home index
ทดลองใส่โค้ดแสดงผลง่ายๆ โดยใช้ Bulma ใน index.html
<section class="section">
<div class="container">
<h1 class="title">
Hello World
</h1>
<p class="subtitle">
My first website with <strong>Bulma</strong>!
</p>
</div>
</section>
ตัวอย่างโค้ดสามารถเข้าไปดูได้ที่นี่ รันเว็บเซอร์เวอร์และเข้าไปยังหน้าเว็บผ่านเว็บบราวเซอร์
$ rails server
Bulma with Rails
พื้นฐานเกี่ยวกับ Bulma
จะว่าไป Bulma ก็คือ CSS Framework ที่ได้รับการออกแบบมาให้ใช้ความสามารถของ Flexbox เป็นหลักในการจัด layout ของเว็บไซด์ ซึ่งทำให้เราสามารถที่จะจัดหน้าตาของเว็บไซด์ได้ง่าย และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น แทนที่จะไปใช้ table เหมือนในสมัยก่อน นอกจากนี้ Bulma จะมีเพียงแค่ CSS เท่านั้น ทำให้มีขนาดเล็กกว่า CSS Framework ตัวอื่นๆ เหมาะสมกับการนำไปใช้ร่วมกับ javascript ใดๆ ก็ได้ไม่ว่าจะเป็น vanilla javascript หรือ jquery ที่นี้ลองมาดูความสามารถของ Bulma กัน
การรองรับการแสดงผล
สำหรับ Bulma นั้นได้รับการออกแบบโดยคำนึงถึงอุปกรณ์มือถือเป็นอย่างแรก ทำให้การนำไปใช้แสดงผลบนอุปกรณ์มือถือนั้นสามารถทำได้ดีและสวยงาม โดย Bulma แบ่งกลุ่มการแสดงผลออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกันคือ
- mobile โดยมีขนาดหน้าจอสูงสุดที่ 768px
- tablet ขนาดหน้าจอ 769px ขึ้นไป
- desktop ขนาดหน้าจอ 1024px ขึ้นไป
- widescreen ขนาดหน้าจอ 1216px ขึ้นไป
- fullhd ขนาดหน้าจอ 1408px ขึ้นไป
Columns
กล่าวคือเมื่อมีการนำคอมโพเนนต์มาจัดเรียง Flexbox จะจัดการแสดงแบบอยุ่ในรูปของตาราง (grid) ซึ่งใช้ระบบ 12 คอลัมน์ต่อ 1 แถว
Grid System with 12 columns
Columns Example
Layout
- Container ใช้สำหรับจัดเรียงเนื้อหาให้อยู่ตรงกลางในแนวระนาบ
Container Example
-
Level ใช้สำหรับจัดเรียงเนื้อหา แยกเป็นระดับๆ ในแนวระนาบ
-
Media Object เป็นโครงสร้างที่คล้ายกับการแสดงความเห็นในสื่อโซเชียล ซึ่งจะประกอบไปด้วยส่วนทางซ้ายสำหรับแสดงภาพ ส่วนตรงกลางสำหรับแสดงเนื้อหา และส่วนทางขวาสำหรับใส่เนื้อหาเพิ่มเติม
Level Example
- Hero ใช้สำหรับแสดงพาดหัวข่าว (Banner) ในรูปแบบต่างๆ
Hero Example
- Section ใช้สำหรับแยกเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ
- Footer ใช้สำหรับแสดงเนื้อหาส่วนท้ายของเว็บไซด์
Footer Example
- Tiles ใช้สำหรับแสดงเนื้อหาคล้ายแผ่นกระเบื้องมาต่อๆ กัน เหมือนกับการแสดงรูปภาพในเว็บไซด์ Pinterest
Tile Example
Elements
- Box ใช้สำหรับแสดงเนื้อหาในรูปแบบของกล่อง
- Button ใช้แสดงปุ่ม ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นลักษณะ สี รวมถึงสถานะการแสดงผล
- Content ใช้สำหรับแสดงเนื้อหาประเภท WYSIWYG ซึ่งรองรับเฉพาะ HTML Tag เท่านั้น
- Delete ใช้สำหรับแสดงเครื่องหมายลบ
- Icon ใช้สำหรับแสดงไอคอนต่างๆ
- Image ใช้สำหรับแสดงภาพ ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ และขนาด
- Notification ใช้สำหรับแสดงข้อความแจ้งเตือน
- Progress bars ใช้สำหรับแสดงแถบสถานะความก้าวหน้า
- Table ใช้สำหรับแสดงตาราง
- Tag ใช้สำหรับแสดงป้าย
- Title ใช้สำหรับแสดงหัวข้อ
สำหรับในบทความนี้ก็ขอนำแนะนำองค์ประกอบพื้นฐานไว้คร่าวๆ แต่เพียงเท่านี้ หากอยากศึกษาเพิ่มเติมถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ตัวช่วย (Helpers) คอมโพเนนต์ (Components) หรือการปรับแต่งสไตล์ (Customization) สามารถดูรายละเอียดได้จากเว็บไซด์ Bulma