เมื่อนักสร้างคอนเทนต์มือใหม่ อยากมีเว็บไซด์เป็นของตัวเอง

สำหรับนักสร้างคอนเทนต์ การมีเว็บไซด์เป็นของตัวเองเพื่อใช้ในการเผยแพร่บทความที่ได้เขียนขึ้นนั้นถือเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่ช่วยเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ผู้อ่านในโลกอินเตอร์เน็ต นอกเหนือจากการเผยแพร่ผ่านเว็บไซด์อื่นๆ เช่น medium, blogger, reddit เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะเป็นการแนะนำเครื่องมือที่ชื่อว่า Jekyll เพื่อใช้สำหรับสร้างเว็บไซด์ที่รองรับการทำบล็อก

ทำไมเลือกใช้ Jekyll

ก่อนที่จะลงลึกถึงการติดตั้ง และใช้งาน Jekyll มาดูกันก่อนว่า Jekyll นั้นเหมาะสมที่จะมาเป็นเครื่องมือสำหรับนักสร้างคอนเทนต์มืใหม่อย่างเราหรือไม่ โดยลองนึกถึงคุณลักษณะของเว็บไซด์ที่เราอยากได้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

เมื่อเห็นคุณลักษณะข้างต้นก็จะพบว่าประเภทของเว็บไซด์ที่ตอบโจทย์ดังกล่าวก็จะเป็น Static Website หรือถ้าเรียกเป็นภาษาไทยก็คือ เว็บไซด์ที่ตอบสนองแบบทางเดียว กล่าวคือไม่มีการติดต่อกับฐานข้อมูล สำหรับเก็บข้อมูลใดๆ นั้นเอง ถ้าเราลองค้นหาเครื่องมือที่สร้าง Static Website ที่จะมาช่วยเหลือเราในการสร้างเว็บไซด์ ซึ่งจะพบว่ามีเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอยู่ด้วยกันหลากหลาย

แล้วที่นี้เราจะเลือกใช้เครื่องมือตัวไหนดี ซึ่งในมุมมองแต่ละคนก็จะมีหลักเกณฑ์ในการเลือกที่แตกต่างกัน

Everything should be made as simple as possible, but not simple.

~ Albert Einstein

สำหรับบทความนี้ได้เลือกใช้ Jekyll เนื่องจากเป็นเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นจากภาษา Ruby ซึ่งเป็นภาษาที่ผู้เขียนชื่นชอบและสนใจเป็นหลัก ประกอบกันความสามารถในการเขียนบทความที่ง่ายผ่านรูปแบบของการเขียนโดยใช้ Markdown และสุดท้ายคือในการส่วนของการตกแต่งรูปแบบเว็บไซด์ซึ่งสามารถทำได้อย่างง่ายได้


Jekyll คืออะไร

จะอธิบายให้ชัดเจนเกี่ยวกับ Jekyll ว่าคืออะไร ก็สามารถจะตอบได้ว่าเป็นเครื่องมือสำหรับพัฒนาเว็บไซด์แบบตอบสนองทางเดียว (Static Website) ที่รองรับการทำบล็อก เหมาะสมกับผู้ใช้งานทั่วไป หรือองค์กรต่างๆ โดยหน้าเว็บของเราจะถูกสร้างขึ้นโดยการแปลงเนื้อหาที่เขียนขึ้นจาก Markdown ไปเป็น HTML นั้นเอง

ใครบ้างที่ใช้ Jekyll

Ruby on Rails Ruby on Rails

HTML Reference HTML Reference

สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่นี่

ความต้องการพื้นฐาน

เนื่องจาก Jekyll เป็นเครื่องมือที่ทำงานด้วยภาษา Ruby ดังนั้นเราต้องติดตั้งโปรแกรมพื้นฐานดังต่อไปนี้ก่อน

เริ่มต้นกันเลย (Quickstart)

Jekyll Jekyll on localhost

เพียงไม่กี่ขั้นตอนข้างต้น เราก็จะได้เว็บไซด์พร้อมใช้งาน ซึ่งประกอบด้วย


วิธีการติดตั้งเว็บไซด์บน Github Pages

เมื่อได้เว็บไซด์ที่พร้อมจะนำเสนอสู่โลกอินเทอร์เนต สิ่งที่ขาดไม่ได้ถัดมาคือการนำเว็บไซด์ไปติดตั้งบนโฮสสาธารณะที่ผู้คนสามารถเข้ามาชมได้ แต่ถ้าการเช่าโฮส และการจดโดเมนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับมือใหม่ การเลือกใช้บริการโฮสเว็บไซด์สาธารณะก็ถือเป็นทางเลือกที่ประหยัด และสะดวกรวดเร็ว ใช่แล้วครับในบทความนี้เราได้เลือกใช้บริการของ Github ที่เรียกว่า Github Page

Github Pages เป็นบริการโฮสเว็บไซด์ของ Github ผ่านการอัพโหลดเข้าไปยัง Repository ของ Github อีกทั้งยังมีโดเมนที่เป็นสาธารณะภายใต้โดเมนของ Github อีกด้วย โดยโดเมนที่ได้จะมีซับโดเมนตามชื่อบัญชีผู้ใช้ที่เราได้สมัครไว้กับทาง Github ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเรามีชื่อบัญชีผู้ใช้เป็น karn18 เราก็จะมีโดเมนเป็น karn18.github.io

git init
git add .
git commit -am "Init my static website"
git remote add origin https://github.com/{username}/{username}-github.io.git
git push

เพียงเท่านี้เราก็สามารถเริ่มเขียนบทความที่น่าสนใจ และเผยแผร่สู่โลกอินเทอร์เนตได้แล้ว

!!! หมายเหตุ: ให้แทน {username} ด้วยชื่อบัญชีผู้ใช้ที่สมัครไว้กับ Github

References